Tuesday, 27 December 2011

ผู้จัดทำ

 

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์กรมหาชน

รายวิชา พ30106 สุขศึกษาและพลศึกษา 6
โดย

น.ส.ภคพร อู่เต่าบิน เลขที่5
น.ส.วริศรา จันทร์ลอย เลขทีุ่6
นายขุนคีรี รังษีวงศ์ เลขที่8
นายฆนัท จันทรทองดี เลขที่ 9
นายพีรภัทร บุญญฤทธิพงษ์ เลขที่17

มัธยมศึกษาปีที่ 6/3 ปีการศึกษา 2554

การใช้บริการรถไฟฟ้า:เส้นทางการเดินรถไฟฟ้า

การใช้บริการรถไฟฟ้า:ข้อควรปฏิบัติ / ข้อห้าม ในการใช้รถไฟฟ้า

    ข้อควร ปฏิบัติ ในการใช้ รถไฟฟ้า
    1. ขณะรอรถไฟฟ้าบนชานชลา กรุณายืนหลังเส้นเหลือง
    2. กรุณาระมัดระวังช่องว่างระหว่างพื้นชานชลา และรถไฟฟ้าขณะขึ้น-ลงรถไฟฟ้า
    3. กรุณายืนให้ห่างจากบริเวณประตูเข้า-ออกรถไฟฟ้า
    4. กรุณานั่งหรือจับราวในขณะรถไฟฟ้าวิ่ง
    5. ฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่บริษัท ฯ อย่างเคร่งครัด
    ข้อห้ามในการใช้รถไฟฟ้า
    1. ห้ามรับประทานอาหาร/เครื่องดื่มในสถานีรถไฟฟ้าและในรถไฟฟ้า
    2. ห้ามเล่นหรือทดลองใช้อุปกรณ์ใด ๆ ที่ติดตั้งในสถานีรถไฟฟ้า
    3. ห้ามยืนพิงประตู
    4. ห้ามลงไปในบริเวณรางรถไฟฟ้า
    อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสจะเปิดให้บริการได้ไม่นาน แต่ก็ได้ช่วยลดปัญหา การจราจรของกรุงเทพมหานครได้ไม่น้อยและในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้ใช้บริการในการเดินทาง ในรูปแบบใหม่อีกอย่างหนึ่ง คือรถไฟใต้ดิน Ref:BTS.co.th
    การใช้เสารถไฟฟ้า

การใช้บริการรถไฟฟ้า:ขั้นตอนการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส

    1. ซื้อตั๋วจากตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ หรือจากห้องจำหน่ายตั๋ว
    2.เมื่อได้ตั๋วแล้วผู้โดยสารก็จะเดินผ่านช่องทางเข้า (Entry Gate)โดยจะต้องป้อนตั๋วผ่านเข้าประตูอัตโนมัติ เมื่อเครื่องตรวจสอบว่าตั๋วถูกต้องประตูจะเปิด และอย่าลืมรับตั๋วคืนจากเครื่องก่อนเดินเข้าประตูไป เก็บตั๋วโดยสารไว้กับตัวตลอดเวลา เพื่อใช้เป็นบัตรผ่านเมื่อถึงปลายทาง
    3. เมื่อผู้โดยสารถึงสถานีที่ต้องการแล้ว ผู้โดยสารจะผ่านออกที่ช่องทางออก(Exit Gate) โดยป้อนตั๋วเดิมผ่านเข้าประตูอัตโนมัติ ในกรณีที่เป็นตั๋วแบบเที่ยวเดียว(Single-JourneyTicket)ที่ซื้อตรงตามราคาค่าโดยสารประตูจะเปิดออกได้เลยและเครื่องจะเก็บตั๋วคืน แต่ถ้าเป็นตั๋วแบบสะสมมูลค่า(Stored-Value Ticket) เครื่องจะทำการหักค่าโดยสารพร้อมแสดงจำนวนมูลค่าเงินที่เหลืออยู่ในตั๋วใบนั้น แล้วคืนตั๋ว ให้ก่อนเดินออกจากประตู ซึ่งตั๋วนี้สามารถเก็บไว้ใช้ครั้งต่อ ๆ ไปได้
    รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา06.00 น. -24.00 น.   Ref:BTS.co.th

กติกาการแข่งขันลีลาศ :การแต่งกาย

เด็กหญิง


การแต่งกายทั้งแบบ Standard และ Latin

ชุดแข่งขันที่ไม่มีการตกแต่งใดๆ เช่น (พลอยเทียมที่คล้ายเพชร,ลูกปัด,มุก และขนนก)
ห้ามใช้วัสดุที่ทำจากโลหะ ผ้าที่ส่องแสงสะท้อนเป็นประกายระยิบระยับ และผ้าเลื่อม
ตัดเย็บชุด
ใช้ผ้าหลากสีได้ ผ้าลายปัก ผ้าลูกไม้ถักหรือทอ ประดับดอกไม้หรือไหมญี่ปุ่นได้
สำหรับกฎระเบียบของการตัดเย็บชุดให้ดูภาพดีไซด์ของผู้ใหญ่แบบที่ 2

การใช้สี
-ให้ใช้สีอะไรก็ได้ยกเว้นสีเนื้อ หรือสีผิวหนังชุดชั้นในต้องเป็นสีเดียวกับชุดที่สวมใส่
รองเท้า
-ส้น 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร ส้นบล๊อกหรือส้นเรียวก็ได้ ไม่ให้ใส่ถุงเท้าสั้น
และไม่ให้ใส่ถุงน่องที่เป็นตาข่าย
ทรงผมและการเม๊คอัพ(Make up)
-Junior 1และ Juvenile ใช้กฏเกณฑ์เดียวกัน
เครื่องประดับ
-ห้ามใส่เครื่องประดับใดๆ เช่น กำไรมือ แหวน สร้อยคอ ฯลฯ


เด็กชาย
การแต่งกายแบบ Latin
แบบเดียวกับรุ่น Juveniles หรือกางเกงยาวสีดำหรือสีกรมท่า ใส่เข็มขัดสีดำ
 มีหัวเข็มขัดเป็นโลหะด้วยก็ได้ ใส่เสื้อแขนยาวสีดำหรือสีกรม หรือสีขา
 (ห้ามพับแขนเสื้อขึ้น) เสื้อต้องสอดเข้าในกางเกง ใส่เสื้อกั๊กสีดำ หรือสีกรมด้วยก็ได้
อนุญาตให้ใส่ที่หนีบไทน์เป็นโลหะได้สำหรับผ้าที่ใช้ตัดชุดท่อนบน
ให้ดูที่ระเบียบการแต่งกายของรุ่นผู้ใหญ่ (Adult)
การตกแต่งชุด
-ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่งใดๆ
รองเท้า
-เหมือนกับรุ่น Juvennile
ทรงผม
-ควรเป็นทรงผมสั้น ถ้าผมยาวให้มัดเป็นหางม้า
การเม๊คอัพ(Make up)
-ไม่อนุญาตให้มีการเม๊คอัพ
ครื่องประดับ
-ไม่อนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับ
การแต่งกายแบบ Standard
กางเกงขายาวสีดำหรือสีกรมท่าพร้อมเสื้อกั๊กใส่กับเสื้อแขนยาวสีขาว
 พร้อมไทน์สีดำหรือ โบว์ไทน์ หรือเชิ้ตสีขาวพร้อมโบว์ไทน์สีขาว
อนุญาตให้ใส่ที่หนีบไทน์ หรือกระดุมข้อมือได้
การตกแต่งชุด
-ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่งชุด
รองเท้า
-ให้ใส่รองเท้าสีดำส้นเตี้ย สวมถุงเท้าสีดำ
ทรงผม
-ควรเป็นทรงผมสั้น ถ้าผมยาวให้มัดเป็นหางม้า
การเม๊คอัพ( Make up)
-ไม่อนุญาตให้มีการเม๊คอัพ
เครื่องประดับ
-ไม่อนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับ
อนุญาตให้ใช้เครื่องแต่งกายรุ่นที่ต่ำกว่าเสมอ ตัวอย่างเช่น Junior I
สามารถที่จะใช้เครื่องแต่งกายของJuvenile หรือ Junior II สามารถที่จะใช้ของ Junior I ได้
 ถ้า Junior และ Junior II ไม่แบ่งแยก ให้ใช้ระเบียบการแต่งกายของ Junior II


Ref
สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย
Thailand Dance Sport Association


ข้อมูลเพิ่มเติมที่
เอกสารประกอบการเรียน อ.จัตวา อรจุล
สาขาวิชาพลานามัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์กรมหาชน

ระบบการพิจารณา ตรวจเทียบคะแนน (SKATING SYSTEM)ของการแข่งขันกีฬาลีลาศ

ระบบมาตรฐานของการให้คะแนนและการวิเคราะห์คะแนนมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการแข่งขันกีฬาลีลาศ 
สภารัฐบาลนานาชาติซึ่งควบคุมการแข่งขันของนักกีฬาลีลาศทั้งของอาชีพและสมัครเล่น 
ระบุว่าควรใช้ระบบสะเก็ตติ้ง (SKATING SYSTEM) พื้นฐานของระบบ คือการใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นหลัก
 (MAJORITY) และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกีฬา สเก็ตน้ำแข็งคะแนนตัดสินจากคณะกรรมการ
 จะถูกผ่านไปให้ คณะผู้ให้การพิจารณาตรวจเทียบคะแนน เพื่อจัดอันดับของผู้เข้าแข่งขัน
ให้สมบูรณ์ต้องมีความระมัดระวัง เพราะไม่ใช้เป็นการตรวจเพียงครั้งเดียว เนื่องจากการ
มีคณะกรรมการหลายคน ซึ่งแต่ละคนต่างใช้วิจารณญานของตนเอง จึงเกิดให้มีความเห็นที่แตกต่าง 
จึงมีความเห็นแตกต่างของผู้ตัดสิน รวมทั้งอาจมีคะแนนที่เท่ากัน ซึ่งต้องใช้รายละเอียดของ
ระบบสะเก็ตติ้งเป็นข้อวินิจฉัย ข้อเรียกร้องพิเศษของการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ IDSF 
ถือในรอบสุดท้าย "FINAL ROUND"คะแนนจะต้องเปิดเผย (VISAUL MARKING)




Ref
สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย
Thailand Dance Sport Association

กติกาการแข่งขันลีลาศ :การแบ่งอายุและการแบ่งชั้น



รุ่นยุวชน (JUVENILES) คือผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุไม่เกิน 11 ปี
รุ่นเด็ก (JUNIORS) คือผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี
รุ่นหนุ่ม/สาว (YOUTHS) คือผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี
รุ่นผู้ใหญ่ (ADULTS) ระดับนี้ยังมีแยกย่อยไปตามกลุ่มอายุได้อีก อาทิเช่น 19 - 35 ปี หรือ 60 ปี


การแบ่งชั้น (GRADING)
แต่ละประเทศจะมีระบบที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกประเภทมีการประเมินการแสดงออก
และโปรโมทให้ระดับหรือชั้น สูงขึ้นคำอธิบายข้างล่างให้
เป็นระบบการแบ่งชั้นในบางส่วนของยุโรปคู่แข่งขันเริ่มต้นจากขั้นต่ำที่สุด
ชั้น D หรือ C คู่แข่งขันในระดับนี้ เต้นได้แต่สเต็ปพื้นฐานเท่านั้น
ชั้น A หรือ B การเลื่อนชั้นจะต้องเกิดจากการสะสมคะแนนที่ได้จากการแข่งขัน เพิ่มพูนมา
ชั้น S คู่แข่งขันระดับ (S) สูงสุดถือเป็นมาตรฐานระดับนานาชาติ
การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับนานาชาติ 

(INTERNATIONAL CHAMPIONSHIP) ถูกจัดขึ้นทุกปี
 และผู้ชนะเลิศในแต่ละชั้นจะถูกจัดให้เลื่อนอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
ผู้ชนะในระดับสูงสุดจะถูกจารึกให้เป็นผู้ชนะเลิศแห่งชาติ 
ระดับชั้นของการลีลาศแต่ละแบบจะไม่มีผลต่อการเลื่อนชั้นของแบบอื่น

Ref
สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย
Thailand Dance Sport Association

กติกาการแข่งขันลีลาศ :เกณฑ์การตัดสิน

เกณฑ์การตัดสิน การแข่งขันกีฬาลีลาศ (CRITERIA FOR JUDGING) ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชา
ติ (INTERNATIONAL DANCESPORT FEDERATION) " IDSF"

Aหัวข้อในการวินิจฉัย (FIELDS OF ADJUDICATION)
1เวลาของจังหวะ และพื้นฐานจังหวะ (TIMING AND BASIC RHYTHM)
2ทรงของลำตัว (BODY LINES)
3การเคลื่อนไหว (MOVEMENT)
4การแสดงที่บอกจังหวะ (RHYTHMIC INTERPRETATION)
5การใช้เท้า (FOOT WORK)
6การใช้พื้นที่ฟลอร์ (FLOOR CRAFT)
ในการแข่งขันกีฬาลีลาศในแต่ละจังหวะทุกประเภท เวลาของจังหวะและพื้นฐานจังหวะ จะใช้เป็นขั้นตอนแรก
ที่ใช้ประกอบคำวินิจฉัย ครอบคลุมข้ออื่น ๆ ถ้าคู่แข่งขันทำผิดซ้ำ ๆ กัน ในข้อนี้จะต้องถูกตัดสินให้อยู่ใน
ตำแหน่งที่สุดท้ายในจังหวะนั้น ๆ สำหรับข้อวินิจฉัย 2 ถึง 5 มีความสำคัญเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่มีข้อใดที่มีความสำคัญมาก
ไปกว่ากัน


Bกฎเกณฑ์พื้นฐาน (BASIC RULES)
การวินิจฉัยคู่แข่งขัน จะเริ่มทันทีที่เริ่มเข้าสู่การเตรียมพร้อมที่จะเต้นและสิ้นสุดเมื่อดนตรีหยุด 
กรรมการตัดสินจะต้องเช็คผลการให้คะแนนที่ได้ให้ไปแล้วทั้งหมด และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ถ้าจำเป็น 
หากคู่แข่งขันไม่ดำเนินการเต้นอย่างต่อเนื่อง จะถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งสุดท้าย และถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
ในตอนท้าย คู่แข่งขันจะถูกตัดสินว่าขาดคุณสมบัติ (เป็นโมฆะ)
คู่แข่งขันจะถูกวินิจฉัยในการแสดงและการเต้นแต่ละจังหวะแยกออกจากกัน การเต้นของจังหวะที่ได้ตัดสิน

ไปแล้วนั้นไม่นำมารวมวินิจฉัยกับจังหวะอื่น กรรมการตัดสินอยู่ภายใต้ข้อบังคับ ไม่ให้ชี้แจงเหตุผล
 ข้อวินิจฉัยของคู่แข่งขันที่ได้ให้ไปแล้ว ระหว่างการแข่งขันหรือเวลาที่หยุดพักช่วงการแข่งขัน 
กรรมการตัดสินจะไม่วิจารณ์หรือพูดคุยปัญหาต่าง ๆ กับผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น





Cการอธิบายเกี่ยวกับข้อที่ใช้ประกอบคำวินิจฉัย
1เวลาและพื้นฐานของจังหวะ (TIMING AND BASIC RHYTHM) ผู้ตัดสินต้องตัดสินว่า คู่แข่งขันเต้น
ถูกต้องกับจังหวะดนตรี และพื้นฐานของจังหวะหรือไม่ ? การเต้น "ตรงจังหวะ"หมายความถึง
 การเต้นที่ไม่ ก่อน หรือ หลัง จังหวะดนตรี แต่ ตรง กับจังหวะดนตรี พอดีพื้นฐานของจังหวะ
 (BASIC RHYTHM) หมายความถึง การแสดงการเต้นภายในเวลาที่จัดไว้ให้
 เช่น (ช้า หรือ เร็ว) และรักษาเวลาความสัมพันธ์ของการเต้นจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่งอย่าง
ต่อเนื่องผลของการเต้นไม่ตรงจังหวะดนตรี และพื้นฐานจังหวะ คู่แข่งขันจะได้คะแนนต่ำสุดใน
จังหวะที่ทำการเต้นอยู่ 
การกระทำผิดข้อนี้ ไม่สามารถทดแทนโดยการแสดงที่ดีในข้อประกอบการวินิจฉัยข้อ 2 ถึง 5 
ได้ถ้ามีคู่แข่งขันหลายคู่ เต้นไม่ตรงจังหวะและไม่มีพื้นฐานของจังหวะ ข้อวินิจฉัย 2 ถึง 5 อาจนำมา
ใช้ประกอบการวินิจฉัยในการจัดอันดับขั้นของคู่แข่งขันเหล่านั้น คู่แข่งขันที่ไม่ทำผิดจังหวะและ
พื้นฐานของจังหวะ จะถูกจัดอันดับให้อยู่เหนือคู่อื่น
2ทรงของลำตัว (BODY LINE) ทรงหรือแนวเส้นของลำตัวมีความสัมพันธ์ต่อคู่แข่งขันทั้งสองร่วมกัน
ในระหว่างการเคลื่อนไหว และการทำท่าเต้นต่าง ๆ ของการเต้นในแต่ละจังหวะ
การวินิจฉัยท่าต่าง ๆ เกี่ยวกับทรงของลำตัวมี ดังนี้
A.เส้นแขน (ARM LINE)
B.เส้นหลัง (BACK LINE)
C.เส้นหัวไหล่ (SHOULDER LINE)
D.เส้นสะโพก (HIP LINE)
E.เส้นขา (LEG LINE)
F.เส้นคอและศีรษะ (NECK AND HEAD LINE)
G.เส้นขวาและซ้าย (RIGHT AND LEFT SIDE LINE)
3การเคลื่อนไหว (MOVEMENT) กรรมการตัดสินจากการเคลื่อนไหวที่รักษาลักษณะหรือเอกลักษณ์ของ 
จังหวะที่เต้น (CHARATER OF THE DANCE) และพิจารณาจากการขึ้นและลง (RISING AND LOWERING)
 รวมทั้งการสวิง (SWING) และการทรงตัวที่สมดุลของทั้งคู่ การเต้นที่มีแรงสวิงมากกว่าจะได้คะแนนที่สูงกว่า 
แต่ต้องประกอบด้วยการทรงตัวที่สมดุล (BALANCE) การเต้นรำในแบบ LATIN AMERICAN 
การเคลื่อนไหวและการใช้สะโพก (HIP MOVEMENT) จะถูกกำหนดให้เป็นหลักในการประเมิน
4การแสดงที่บอกจังหวะ (RHYTHMIC INTERPRETATION) กรรมการตัดสินจะประเมินการแสดง 
ตามจังหวะของการเต้นที่แสดงให้เห็นถึง ศิลปะการออกแบบของกลุ่มสเต็ป (ARTISTIC CHOREOGRAPHY)
 และดนตรีที่ใช้ประกอบ (MUSICAL INVOLVEMENT) ของทั้งคู่ การเปลี่ยนจังหวะเพื่อให้สอดคล้องกับดนตรี
จะต้องระวังความผิดพลาดตามส่วนของ "เวลา และพื้นฐานของจังหวะ (TIMING AND BASIC RHYTHM)
5การใช้เท้า (FOOT WORK) ผู้ให้การวินิจฉัยจะต้องประเมินจากการใช้ ฝ่าเท้าปุ่มโคนหัวแม่เท้าที่
 ถูกต้องรวมถึงการใช้ส้นเท้าและปลายเท้า การเคลื่อนไหวและท่าทางต่าง ๆ เช่นการชิดเท้า และ
การควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้า
6การใช้พื้นที่ฟลอร์ (FLOOR CRAFT) ผู้ให้การวินิจฉัยจะต้องประเมินถึงการวางแผนการ 
ในการใช้กลุ่มฟิกเกอร์ของตัวเองในการหลบหลีกเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและไม่สะดุด
 รวมถึงการไม่ไปรบกวนคู่เต้นคู่อื่นด้วย



ตัวอย่างการแข่งขันลีลาศ

Ref
สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย
Thailand Dance Sport Association

เ้ส้นเครื่องหมายบนพื้นทาง

วิธีขับขี่ที่ปลอดภัย สำหรับผู้ขับขี่และผู้ที่กำลังจะเป็นผู้ขับขี่ในอนาคต

คลิปรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย กปถ.และกรมการขนส่งทางบก


ใช้เกียร์ให้ถูกต้อง
เกียร์แต่ละระดับจะต้องมีความสัมพันธ์กับความเร็วของรถ ถ้าท่านลากเกียร์ต่ำนานๆ หรือเปลี่ยนเป็นเกียร์สูงในขณะที่ความเร็วของรถยังไม่พอ เป็นสาเหตุให้เปลืองน้ำมัน และถ้าเลี้ยงคลัทช์ขณะจอดรถ ติดสะพาน หรือรอสัญญาณจราจรนั้น ก็จะทำให้สิ้นเปลืองคลัทช์ และน้ำมัน ควรหลีกเลี่ยง โดยใช้การเหยียบเบรคและเบรคมือช่วยแทน

เปิดแอร์เท่าที่จำเป็น
แอร์รถยนต์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับสภาพอากาศร้อนระอุบนถนนเมืองไทย แต่รถที่ใช้แอร์จะเปลืองน้ำมันมากกว่ารถที่ไม่ได้แอร์อย่างน้อย 10% ขึ้นไป วิธีประหยัดน้ำมันก็คือ เลือกเปิดแอร์เฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น ถ้าอากาศภายนอกเย็น แอร์รถยนต์ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดใช้เลย

ตรวจสอบลมยาง
รถแต่ละชนิดใช้ขนาดยางและแรงอัดลมยางไม่เท่ากัน ท่านควรหมั่นตรวจสอบยางทั้งสี่ล้อของท่านอยู่เสมอ ให้ได้แรงอัดจำนวนปอนด์ต่อตารางนิ้วเท่าที่กำหนดไว้ เพราะว่าถ้าปล่อยให้ยางอ่อนเกินไป จะเพิ่มความฝืดให้กับรถทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมาก





กำหนดเส้นทางขับ
ก่อนออกรถ ท่านควรจะกำหนดเส้นทาง หรือใช้คู่มือแผนที่เพื่อกำหนดเส้นทางไว้ก่อนทุกครั้ง เพื่อที่จะได้ระยะทางสั้นที่สุดที่จะประหยัดเวลาของท่านให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญก็คือช่วยประหยัดน้ำมันให้ท่านมากที่สุดด้วย


ตรวจสภาพรถ
หมั่นตรวจสอบและสังเกตุสภาพรถอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย ไฟหน้า ไฟท้ายรถ ยางรถ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญมาก เมื่อส่วนหนึ่งชำรุดเสียหาย ส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะเสียหายตามไปด้วย ท่านจึงควรมีเวลาตรวจสอบรถของท่านอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งหรือนำรถไปให้อู่หรือสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งจะมีช่างผู้ชำนาญและคอยให้คำแนะนำ เพื่อให้รถของท่านมีความมั่นคงแข็งแรงใช้งานได้อย่างมั่นใจตลอดการเดินทาง

ใช้รถร่วมกัน
ควรใช้รถร่วมกันกับมิตรสหาย หรือเพื่อนบ้าน หากท่านมองดูรอบๆ ตัว บนท้องถนนในเวลาปกติ ท่านจะเห็นว่ารถติดแน่นไปหมด และส่วนใหญ่ในรถแต่ละคันนั้นมักจะมีเจ้าของนั่งขับอยู่เพียงคนเดียว หากเราหันหน้าเข้าหามิตรสหายหรือเพื่อนบ้านที่อยู่บนเส้นทางเดียวกันและตกลงที่จะผลัดกันใช้รถร่วมกัน ท่านจะประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล ทั้งเป็นการช่วยลดการจราจรที่ติดขัดได้อย่างมากอีกด้วย

รักษากฎจราจร
ต้องรักษากฎจราจรโดยเคร่งครัด เพราะโดยมากอุบัติเหตุและการจราจรติดขัดมักจะมีสาเหตุมาจากการไม่เคารพกฎจราจร เช่น การแซงรถในที่คับขัน การไม่รักษาเส้นทาง การไม่ให้สัญญาณที่ถูกต้องเมื่อจะเปลี่ยนเส้นทาง ขาดมารยาทการขับรถที่ดีและไม่มีน้ำใจในการขับรถ แม้ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องใส่ใจและมีน้ำใจ เพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินบนท้องถนนไว้ให้ปลอดภัย

ให้สัญญาณ
บอกให้คนอื่นทราบ เมื่อท่านขับรถบนท้องถนน หรือเดาได้ว่าท่านจะทำอะไรหรือไปทางไหน เช่น ชะลอรถและชิดซ้าย เมื่อจะเข้าซอยซ้ายมือ เมื่อจะเลี้ยวขวาก็ให้สัญญาณเลี้ยวขวา และชะลอรถชิดขอบทางด้านขวา เมื่อท่านจะแซงก็ต้องให้สัญญาณล่วงหน้าอย่างถูกต้อง

อย่าขับรถเร็ว
ถ้าเราขับรถเร็ว เราก็จะบังคับรถลำบากขึ้นโอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุก็สูง แม้ว่าท่านจะขับรถเก่งและรู้กฎจราจรดี แต่ถ้าเร่งความเร็วของรถเพื่อแข่งกับเวลาหรือเพื่อจุดประสงค์อื่นใดก็ตาม พึงระลึกอยู่เสมอว่า "ช้าสักนิด ชีวิตปลอดภัย
"ระวังถนนลื่น
ฝนตก ถนนลื่น ถนนที่เป็นอันตราย ก็คือถนนที่เปียกชื้น ขณะฝนตกหรือหลังจากฝนตกใหม่ๆ เพราะถนนลื่นและทัศนวิสัยไม่ดี ควรขับรถให้ช้าลงและเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นเป็นพิเศษ


ใช้เกียร์ช่วยบังคับรถ
การฝึกการใช้เกียร์ช่วยบังคับรถ โดยเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงมาจะเพิ่มความปลอดภัย และช่วยลดอุบัติเหตุได้ ผู้ขับรถบางคนติดนิสัยที่จะต้องปลดเกียร์ว่างหรือเหยียบคลัทช์พร้อมๆ กับเบรคเสมอ วิธีนี้ทำให้รถเสียการทรงตัวได้ง่าย ถ้ารถเบรคในขณะที่ถนนไม่อยู่ในสภาพที่ดีพอ

ร่างกายและจิตใจต้องพร้อม
หากขับรถเมื่อสภาพร่างกายและจิตใจพร้อม โดยเมาไม่ขับหรือกินยาระงับประสาท หรือง่วงนอน อุบัติเหตุจะเกิดขึ้นได้ง่าย ท่านควรจะหยุดจอดในที่ปลอดภัยหรือจอดล้างหน้า หรือหาที่พักได้ที่ป้อมตำรวจทางหลวง แล้วค่อยขับรถต่อ ลดความเร็วลง เปิดกระจกให้อากาศภายในรถถ่ายเทได้สะดวก

การใช้ไฟให้ถูกต้อง
ขณะขับรถในเวลาค่ำคืน จะช่วยลดอุบัติเหตุในกรณีที่มีรถวิ่งสวนทางมาท่านควรจะใช้ไฟสูง-ต่ำสลับกันเตือนเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยปลุกให้ผู้ที่ขับรถสวนมาตื่นจากภวังค์ และขณะรถสวนกันท่านจะต้องใช้ไฟต่ำพร้อมกับลดความเร็่วลง การใช้ไฟสูงขณะขับรถสวนกันเป็นอันตรายมาก เพราะทำให้ผู้ขับรถสวนมาตาพร่ามัวก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย




Ref:http://www.rtaf.mi.th/rtaf-travel/drivesafe2.htm

เครื่องหมายจราจร (ป้ายเตือน)

เครื่องหมายจราจร (ป้ายบังคับ)

กฎจราจร : สิ่งที่ควรรู้

1. สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร
                
สัญญาณจราจร หมายถึง สัญญาณใดๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีดหรือด้วยวิธีอื่น สำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้าหรือคนจูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น   เครื่องหมายจราจร หมายถึง เครื่องหมายใดๆ ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏในทางสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น


2. การปฏิบัติตามกฎจราจร
                
1. ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้


                        1.1 สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้หยุด เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไป เว้นแต่ผู้ขับขี่ได้เลยเส้นให้หยุดไปแล้วให้เลยไปได้
                        1.2 สัญญาณจราจรไฟสีแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า “หยุด” ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้หยุดรถ
                        1.3 สัญญาณจราจรไฟสีเขียว หรือเครื่องหมายจราจรสีเขียนที่มีคำว่า “ไป” ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
                        1.4 สัญญาณจราจรไฟสีแดง แสดงพร้อมกับลูกศรสีเขียวให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับตรงไปได้ตามทิศทางที่ลูกศรชี้    ในการใช้ทางตามที่ลูกศรชี้ ผู้ขับขี่ต้องใช้เส้นทางด้วยความระมัดระวัง และต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้าม หรือผู้ขับขี่ที่มาทางขวาก่อน
                        1.5 สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีแดง ถ้าติดตั้งอยู่ที่ทางร่วมทางแยกใด และเปิดทางด้านใดให้ผู้ขับขี่ที่มาทางด้านนั้นหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้ว จึงให้ขับรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
                        1.6 สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีเหลืองอำพัน ถ้าติดตั้งอยู่ ณ ที่ใด ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วรถลง และผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง    ผู้ขับขี่ซึ่งจะขับรถตรงไป ต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้ตรงไป ส่วนผู้ขับขี่ที่จะเลี้ยวรถ ต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงให้เลี้ยว   การเข้าอยู่ในช่องเดินรถดังกล่าว จะต้องเข้าตั้งแต่เริ่มมีเครื่องหมายแสดงให้ปฏิบัติเช่นนั้น
                2. ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนังานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้


                        2.1 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าหนักงานเจ้าหน้าที่ลดแขนข้างที่เหยียดออกไปนั้นลงและโบกมือไปข้างหน้า ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหลังขับรถผ่านไปได้
                        2.2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนข้างนั้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้น แล้วโบกผ่านศีรษะไปทางด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่นั้นขับผ่านไปได้
                        2.3 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนทั้งสองข้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ
                        2.4 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้น โบกไปด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ขับรถผ่านไปได้
                        2.5 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียดออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าและด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ การหยุดรถให้หยุดหลังเส้นให้หยุด ในกรณีที่ทางเดินรถใดไม่มีเส้นให้หยุด ให้ผู้ขับขี่หยุดรถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะไม่น้อยกว่า 3 เมตร
              
  3. ผู้ขับขี่รถต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แสดงด้วยเสียงสัญญาณนกหวีดในกรณีต่อไปนี้

                        3.1 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดยาวหนึ่งครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที
                        3.2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นสองครั้งติดต่อกัน ให้ผู้ขับขี่ขับรถผ่านไปได้
                4. การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยาน


                        1. ทางใดที่ได้จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับขี่ในทางนั้น
                        2. รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องจัดให้มี
                                1) กระดั่งที่ให้สัญญาณได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
                                2) เครื่องห้ามล้อที่ใช้การได้ดี เมื่อใช้สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ทันที
                                3) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาวไม่น้อยกว่า 1 ดวง ที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหน้า เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมา
                                4) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงแดงไม่น้อยกว่า 1 ดวง ที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหลังหรือวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกไฟส่องให้มีแสงสะท้อน
                    3. ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทางหรือทางที่จัดทำให้สำหรับรถจักรยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องขับขี่จักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น
                    4. ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามผู้ขับขี่รถจักรยานปฏิบัติดังนี้
                            1) ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
                            2) ขับรถโดยไม่จับคันบังคับรถ
                            3) ขับขนานกันเกินสอง เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
                            4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่ที่นั่งที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
                            5) ขับโดยบรรทุกบุคคลอื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อมสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
                            6) บรรทุกหรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใดๆในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจับคันบังคับรถหรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
                            7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่
3. การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า
                    คนไทยทุกคนต้องรู้การปฏิบัติตนตามกฎจราจรของคนเดินเท้า คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยเดินข้ามถนนหรือไม่เคยเดินบนถนน โดยเฉพาะนักเรียนจะต้องเดินทางไปโรงเรียนทุกวัน จะต้องรู้ข้อปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้าดังนี้


                    1. ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน
                    2. ภายในระยะไม่เกิน 100 เมตรนับจากทางข้าม ห้ามคนเดินเท้าข้ามนอกทางข้าม
                    3. คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้ามที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุมคนเดินเท้า ให้ปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจรที่ปรากฏต่อหน้า ดังต่อไปนี้
                            1) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดง ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าหยุดรออยู่บนทางเท้าบนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย เว้นแต่ทางใดที่ไม่มีทางเท้าให้หยุดรอบนไหล่ทางหรือขอบทาง
                            2) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียว ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการอนุญาตให้คนเดินเท้าข้าทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถได้
                            3) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวกะพริบทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้าทางเดินรถหยุดรอบนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถ ให้ข้าทางเดินรถโดยเร็ว
                    4. คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้าม หรือทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรควบคุมการใช้ทาง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
                            1) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดงให้รถหยุดทางด้านของทาง ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถตามที่รถหยุดนั้น และต้องข้ามทางเดินรถภายในทางข้าม
                            2) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้รถผ่านทางด้านใดของทาง ห้ามคนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้านนั้น
                            3) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันกะพริบทางด้านใดของทางให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้ามทางเดินรถ หยุดรอบนทางเท้าบนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถอยู่ในทางข้ามให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว
                    5. ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินเป็นขบวนใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่
                            1) เป็นแถวทหารหรือตำรวจที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน
                            2) แถวหรือขบวนแห่ หรือขบวนใดๆ ที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจรากำหนด
4. ประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎจราจร
                    
1. ทำให้การจราจรบนท้องถนนไม่ติดขัด เมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดในการขับขี่ยานพาหนะแต่ละคนก็ขับขี่ไปตามเส้นทางของตน ตามกันข้าม  ถ้ามีบางคนไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดได้
                    2. การปฏิบัติตามกฎจราจรจะเป็นการปัองกันอุบัติเหตุที่จะน่ามาซึ่งความสูญเสียในชีวิตร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติในปัจจุบันนี้ยังมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรอยู่เสมอ จะเห็นได้จากข่าวอุบัติเหตุตามท้องถนนสายต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด นักเรียนเป็นผู้หนึ่งจะมีส่วนช่วยรณรงค์ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร

ความหมายของคำว่าจราจร

ความหมาย


[จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.


Ref: พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน