Tuesday, 27 December 2011

กติกาการแข่งขันลีลาศ :เกณฑ์การตัดสิน

เกณฑ์การตัดสิน การแข่งขันกีฬาลีลาศ (CRITERIA FOR JUDGING) ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชา
ติ (INTERNATIONAL DANCESPORT FEDERATION) " IDSF"

Aหัวข้อในการวินิจฉัย (FIELDS OF ADJUDICATION)
1เวลาของจังหวะ และพื้นฐานจังหวะ (TIMING AND BASIC RHYTHM)
2ทรงของลำตัว (BODY LINES)
3การเคลื่อนไหว (MOVEMENT)
4การแสดงที่บอกจังหวะ (RHYTHMIC INTERPRETATION)
5การใช้เท้า (FOOT WORK)
6การใช้พื้นที่ฟลอร์ (FLOOR CRAFT)
ในการแข่งขันกีฬาลีลาศในแต่ละจังหวะทุกประเภท เวลาของจังหวะและพื้นฐานจังหวะ จะใช้เป็นขั้นตอนแรก
ที่ใช้ประกอบคำวินิจฉัย ครอบคลุมข้ออื่น ๆ ถ้าคู่แข่งขันทำผิดซ้ำ ๆ กัน ในข้อนี้จะต้องถูกตัดสินให้อยู่ใน
ตำแหน่งที่สุดท้ายในจังหวะนั้น ๆ สำหรับข้อวินิจฉัย 2 ถึง 5 มีความสำคัญเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่มีข้อใดที่มีความสำคัญมาก
ไปกว่ากัน


Bกฎเกณฑ์พื้นฐาน (BASIC RULES)
การวินิจฉัยคู่แข่งขัน จะเริ่มทันทีที่เริ่มเข้าสู่การเตรียมพร้อมที่จะเต้นและสิ้นสุดเมื่อดนตรีหยุด 
กรรมการตัดสินจะต้องเช็คผลการให้คะแนนที่ได้ให้ไปแล้วทั้งหมด และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ถ้าจำเป็น 
หากคู่แข่งขันไม่ดำเนินการเต้นอย่างต่อเนื่อง จะถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งสุดท้าย และถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
ในตอนท้าย คู่แข่งขันจะถูกตัดสินว่าขาดคุณสมบัติ (เป็นโมฆะ)
คู่แข่งขันจะถูกวินิจฉัยในการแสดงและการเต้นแต่ละจังหวะแยกออกจากกัน การเต้นของจังหวะที่ได้ตัดสิน

ไปแล้วนั้นไม่นำมารวมวินิจฉัยกับจังหวะอื่น กรรมการตัดสินอยู่ภายใต้ข้อบังคับ ไม่ให้ชี้แจงเหตุผล
 ข้อวินิจฉัยของคู่แข่งขันที่ได้ให้ไปแล้ว ระหว่างการแข่งขันหรือเวลาที่หยุดพักช่วงการแข่งขัน 
กรรมการตัดสินจะไม่วิจารณ์หรือพูดคุยปัญหาต่าง ๆ กับผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น





Cการอธิบายเกี่ยวกับข้อที่ใช้ประกอบคำวินิจฉัย
1เวลาและพื้นฐานของจังหวะ (TIMING AND BASIC RHYTHM) ผู้ตัดสินต้องตัดสินว่า คู่แข่งขันเต้น
ถูกต้องกับจังหวะดนตรี และพื้นฐานของจังหวะหรือไม่ ? การเต้น "ตรงจังหวะ"หมายความถึง
 การเต้นที่ไม่ ก่อน หรือ หลัง จังหวะดนตรี แต่ ตรง กับจังหวะดนตรี พอดีพื้นฐานของจังหวะ
 (BASIC RHYTHM) หมายความถึง การแสดงการเต้นภายในเวลาที่จัดไว้ให้
 เช่น (ช้า หรือ เร็ว) และรักษาเวลาความสัมพันธ์ของการเต้นจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่งอย่าง
ต่อเนื่องผลของการเต้นไม่ตรงจังหวะดนตรี และพื้นฐานจังหวะ คู่แข่งขันจะได้คะแนนต่ำสุดใน
จังหวะที่ทำการเต้นอยู่ 
การกระทำผิดข้อนี้ ไม่สามารถทดแทนโดยการแสดงที่ดีในข้อประกอบการวินิจฉัยข้อ 2 ถึง 5 
ได้ถ้ามีคู่แข่งขันหลายคู่ เต้นไม่ตรงจังหวะและไม่มีพื้นฐานของจังหวะ ข้อวินิจฉัย 2 ถึง 5 อาจนำมา
ใช้ประกอบการวินิจฉัยในการจัดอันดับขั้นของคู่แข่งขันเหล่านั้น คู่แข่งขันที่ไม่ทำผิดจังหวะและ
พื้นฐานของจังหวะ จะถูกจัดอันดับให้อยู่เหนือคู่อื่น
2ทรงของลำตัว (BODY LINE) ทรงหรือแนวเส้นของลำตัวมีความสัมพันธ์ต่อคู่แข่งขันทั้งสองร่วมกัน
ในระหว่างการเคลื่อนไหว และการทำท่าเต้นต่าง ๆ ของการเต้นในแต่ละจังหวะ
การวินิจฉัยท่าต่าง ๆ เกี่ยวกับทรงของลำตัวมี ดังนี้
A.เส้นแขน (ARM LINE)
B.เส้นหลัง (BACK LINE)
C.เส้นหัวไหล่ (SHOULDER LINE)
D.เส้นสะโพก (HIP LINE)
E.เส้นขา (LEG LINE)
F.เส้นคอและศีรษะ (NECK AND HEAD LINE)
G.เส้นขวาและซ้าย (RIGHT AND LEFT SIDE LINE)
3การเคลื่อนไหว (MOVEMENT) กรรมการตัดสินจากการเคลื่อนไหวที่รักษาลักษณะหรือเอกลักษณ์ของ 
จังหวะที่เต้น (CHARATER OF THE DANCE) และพิจารณาจากการขึ้นและลง (RISING AND LOWERING)
 รวมทั้งการสวิง (SWING) และการทรงตัวที่สมดุลของทั้งคู่ การเต้นที่มีแรงสวิงมากกว่าจะได้คะแนนที่สูงกว่า 
แต่ต้องประกอบด้วยการทรงตัวที่สมดุล (BALANCE) การเต้นรำในแบบ LATIN AMERICAN 
การเคลื่อนไหวและการใช้สะโพก (HIP MOVEMENT) จะถูกกำหนดให้เป็นหลักในการประเมิน
4การแสดงที่บอกจังหวะ (RHYTHMIC INTERPRETATION) กรรมการตัดสินจะประเมินการแสดง 
ตามจังหวะของการเต้นที่แสดงให้เห็นถึง ศิลปะการออกแบบของกลุ่มสเต็ป (ARTISTIC CHOREOGRAPHY)
 และดนตรีที่ใช้ประกอบ (MUSICAL INVOLVEMENT) ของทั้งคู่ การเปลี่ยนจังหวะเพื่อให้สอดคล้องกับดนตรี
จะต้องระวังความผิดพลาดตามส่วนของ "เวลา และพื้นฐานของจังหวะ (TIMING AND BASIC RHYTHM)
5การใช้เท้า (FOOT WORK) ผู้ให้การวินิจฉัยจะต้องประเมินจากการใช้ ฝ่าเท้าปุ่มโคนหัวแม่เท้าที่
 ถูกต้องรวมถึงการใช้ส้นเท้าและปลายเท้า การเคลื่อนไหวและท่าทางต่าง ๆ เช่นการชิดเท้า และ
การควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้า
6การใช้พื้นที่ฟลอร์ (FLOOR CRAFT) ผู้ให้การวินิจฉัยจะต้องประเมินถึงการวางแผนการ 
ในการใช้กลุ่มฟิกเกอร์ของตัวเองในการหลบหลีกเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและไม่สะดุด
 รวมถึงการไม่ไปรบกวนคู่เต้นคู่อื่นด้วย



ตัวอย่างการแข่งขันลีลาศ

Ref
สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย
Thailand Dance Sport Association

No comments:

Post a Comment